ศัลยกรรมช่องปาก

การถอนฟันคุด

ผ่าฟันคุด (ผ่าตัดฟันคุด) หรือ ถอนฟันคุด (Tooth Impaction Removal) คือ การเอาฟันกรามซี่ที่ 3 ซึ่งเป็นซี่สุดท้าย ในขากรรไกรที่ไม่สามารถ โผล่ขึ้นมาในช่องปากได้ออก โดยฟันซี่ดังกล่าว อาจฝังตัวอยู่ในกระดูกขากรรไกร หรืออยู่ในเหงือก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ เช่น ปวดหรือบวมได้ และ ถ้าเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ฟันซี่นั้นๆ อาจต้องได้รับการเอาออก

คลินิกทันตกรรม,คลินิกจัดฟัน, คลินิก จัด ฟัน ภูเก็ต, คลินิกทำฟัน ภูเก็ต, dental clinic, dental clinic phuket, phuket dental clinic, dental clinic near me, วิธีถอนฟัน, ถอนฟันกราม, ถอนฟันกรามผุ, ถอนฟันกรามผุ, ถอนฟันราคา

การวินิจฉัยความจำเป็นที่ต้อง “ผ่าฟันคุด”

สำหรับ การถอนฟันคุด หรือ การผ่าฟันคุด นั้น ทันตแพทย์เฉพาะทาง จะต้องพิจารณา เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละเคส ทั้งนี้เนื่องจากฟันคุด มักจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงจำเป็นต้องมีการถ่ายเอกซเรย์ เพื่อดูลักษณะการวางตัวของฟัน ว่าตั้งตรงหรือเอียงนอน และดูตำแหน่งความลึกของฟันคุดซี่นั้นๆ

ในบางกรณี อาจไม่มีความจำเป็นต้องทำ การผ่าฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด ซี่นั้นๆออก เช่น กรณีที่ฟันมีแนวตั้งตรง และมีพื้นที่บริเวณขากรรไกรเพียงพอ แต่ถ้าหากถ่ายเอกซเรย์แล้ว พบว่าฟันมีทิศทางนอนเอียง ก็จะเป็นที่แน่นอนแล้วว่า ฟันซี่นั้นๆจะไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ ทำให้กรณีเช่นนี้ มักจะต้องทำการ ผ่าตัดฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด ซี่นั้นๆออก นอกจากนี้แล้วในการจัดฟัน ทันตแพทย์จัดฟัน มักจะแนะนำให้เอาฟันคุดออก ก่อนเริ่มทำการจัดฟัน เนื่องจากฟันคุดอาจจะขึ้นมา เบียดซี่ฟันในภายหลังได้ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรง ทำให้ฟันที่จัดไปแล้ว เกิดการเบียดตัวเอนหรือซ้อนกันได้

ปัญหาที่เกิดจาก “ฟันคุด”

การที่มีฟันคุดแล้วไม่ได้ทำการ ผ่าฟันคุด หรือ ถอนฟันคุด เพื่อเอา ฟันคุด ซี่นั้นๆออกมา อาจส่งผลให้ มีปัญหาต่างๆ ตามมาได้ดังต่อไปนี้

อาการปวด

อาจเกิดจากแรงดันของฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ แล้วไปเบียดฟันซี่ข้างๆหรืออวัยวะข้างเคียง ทำให้เกิดอาการปวดตึงๆ หรือปวดตุบๆ แต่ในบางกรณี อาการปวดอาจเกิดจาก การอักเสบของเหงือกที่คลุมฟันคุดเอาไว้

อาการบวม

เมื่อเหงือกที่ปกคลุม ฟันคุด โดนฟันคู่สบกัดลงมาโดน หรือ มีเศษอาหารติดในช่องว่าง ระหว่างเหงือกที่ปกคลุมฟันคุดอยู่ เนื่องจากฟันคุดจะทำความสะอาดได้ยาก จึงทำให้มีอาการ อักเสบและติดเชื้อ และเกิดการบวมบริเวณใบหน้าได้ ในบางครั้งหากเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง เช่น ผู้ที่มีสุขภาพช่องปากไม่ดี มีหินปูนเป็นต้น อาจทำให้เกิดการอักเสบ ลามไปถึงบริเวณ ต่อมน้ำเหลืองได้

ทำให้ฟันซี่ข้างเคียงผุ

ในกรณีที่ ฟันคุด ขึ้นมาในทิศทางเอียง จะทำให้มีเศษอาหารติด ที่บริเวณซอกฟันบริเวณนั้นๆเยอะ และ เมื่อแปรงไม่ออก หรือ ทำความสะอาดได้ไม่ดี ก็จะส่งผลให้ฟันซี่ข้างเคียง ที่อยู่ติดกันเกิดการผุได้

เกิดถุงน้ำ (ซีสต์) รอบๆฟันคุด

ฟันคุด ที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ อาจมีการพัฒนาเกิดเป็นถุงน้ำหรือซีสต์ รอบๆฟันซี่นั้นๆ ซึ่งถ้าถุงน้ำมีการขยายขนาดจนใหญ่ ก็จะส่งผลให้กระดูกขากรรไกรบริเวณดังกล่าวถูกทำลายได้

ส่งผลต่อการจัดฟัน

บางกรณี ฟันคุด ที่ขึ้นมา อาจส่งผลให้การจัดฟัน ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ หรือ ทำให้รีเทนเนอร์เดิมที่เคยทำไว้ใส่ไม่ลง

ผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด กี่วันหาย?

การผ่าฟันคุดจะใช้เวลาในการทำประมาณ 30นาที ถึง 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของฟันคุด ส่วนระยะเวลาต่อคำถามที่ว่า ผ่าฟันคุดกี่วันหาย ส่วนใหญ่ ร่างกายจะยังคงมีความเจ็บปวดภายหลังผ่าฟันคุดประมาณ 2-3ชั่วโมง หลังหมดฤทธิ์ยาชา

คนส่วนใหญ่อาจจะยังรู้สึกเจ็บได้ประมาณ 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าฟันคุด และอาการจะค่อยๆดีขึ้นใน 2-3 วัน ภายหลังการผ่าฟันคุด

สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการฟื้นตัว จนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ คือประมาณ 3-4วัน หรือไม่เกิน 1-2 สัปดาห์

ในกรณีที่มีการกรอกระดูก อาจต้องรอประมาณ 1-2เดือน แผลผ่าฟันคุดหรือรอยแยกบริเวณเหงือก จึงกลับมาปิดสนิท กลายเป็นชิ้นเดียวกับเนื้อเยื่อในช่องปาก

ผ่าฟันคุด-ถอนฟันคุด เจ็บไหม?

คำถามที่ว่า ผ่าฟันคุดเจ็บไหม คำตอบที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่จะให้คือ อาจมีอาการเจ็บเวลาที่ฉีดยาชาบ้าง แต่พอยาชาออกฤทธิ์เต็มที่แล้ว จะยังคงมีอาการเหมือนโดนกด หรือรู้สึกมีความสั่นสะเทือนในช่องปาก แต่ถ้าหากยังคงมีอาการเจ็บปวด หรือรู้สึกว่า อดทนไม่ได้แล้ว คุณสามารถแจ้งกับทันตแพทย์ได้ตลอดเวลา เพราะทันตแพทย์ จะเติมยาชาให้จนกว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้น จนสามารถรับ การผ่าฟันคุด จนเสร็จสิ้นกระบวนการ

อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อคำถามที่ว่า ผ่าฟันคุดเจ็บไหม ก็คือ ความอดทนของแต่ละบุคคลด้วย ในบางกรณี ฟันคุดในลักษณะเดียวกัน บางคนบอกว่าเจ็บมาก แต่บางคนบอกว่า ผ่าฟันคุดไม่เจ็บ แต่อย่างไรก็ดี การ ผ่าฟันคุดกรอกระดูก จะย่อมมีความรู้สึกเจ็บปวดมากกว่าฟันคุดที่สามารถถอนออกได้ธรรมดา หรือฟันคุดที่ไม่ต้องกรอกระดูกอยู่แล้ว รวมถึง ฟันคุดที่ถอนได้ยาก หรือต้องผ่าออก ก็จะต้องใช้เวลานานกว่าในการหายของแผล หรือถ้าจะตอบคำถามว่า ผ่าฟันคุดกี่วันหาย ก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยความยากง่ายของฟันคุดเช่นกัน

การเตรียมตัวก่อนถอนฟันคุด

  • เตรียมร่างกายให้พร้อมเช่น พักผ่อนหลับนอนให้เต็มที่
  • จิตใจพร้อมที่จะถอนฟัน หากท่านกลัวหรือเครียดมากควรบอกทันตแพทย์หากมีโรคประจำตัวควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบด้วย
  • รับประทานอาหารแต่พอประมาณ อย่าปล่อยให้หิวมากเกินไปเพราะอาจจะทำให้เป็นลมได้ง่ายในขณะถอนฟัน
  • ไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไปเพราะอาจเกิดปัญหาภายหลังถอนฟันได้ เช่น ทางเดินหายใจอุดตันจากการสำลักอาหารซึ่งเป็นปัญหาแทรกซ้อนได้

ผู้มีโรคประจำตัวควรทำอย่างไร

ก่อนทำการถอนฟัน ทันตแพทย์จะทำการสัมภาษณ์ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย วัดความดันโลหิต ตรวจนับชีพจร ผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคเลือด ควรบอกให้ทันตแพทย์ทราบอย่างละเอียด โดยเฉพาะผู้ที่มี ประวัติโรคเลือดออกง่าย หยุดยาก ควรถอนฟันภายในโรงพยาบาลเพราะอาจจะต้อง เตรียมพร้อมล่วงหน้าก่อนถอนฟันเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดภายหลังการถอนฟัน

วิธีการถอนฟันทำอย่างไร

  • ก่อนที่จะทำการถอนฟัน ทันตแพทย์จะตรวจประวัติทางการแพทย์และประวัติทางทันตกรรมอย่างถี่ถ้วน และจะทำการเอ็กซ์เรย์ฟัน
  • การเอ็กซ์เรย์จะทำให้เห็นถึงความยาว รูปร่างและตำแหน่งของฟันและกระดูกบริเวณรอบๆ ฟัน จากข้อมูลที่ได้ ทันตแพทย์จะสามารถประมาณระดับความยุ่งยากของกระบวนการการถอนฟัน และตัดสินใจว่าจะส่งตัวคุณไปหาผู้เชี่ยวชาญ หรือ ศัลยแพทย์ช่องปาก หรือไม่
  • ก่อนทำการถอนฟัน ทันตแพทย์จะฉีดยาชาบริเวณรอบๆ ฟันที่จะถูกถอน
  • สำหรับการถอนฟันตามปกติธรรมดา เมื่อบริเวณที่จะถอนฟันเกิดอาการชาแล้ว ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องแซะในการทำให้ฟันหลวมจากเหงือก จากนั้นทันตแพทย์จะถอนฟันออกมาด้วยคีมถอนฟัน ทันตแพทย์อาจจะต้องปรับสภาพกระดูกที่อยู่ด้านล่างให้มีความเรียบเนียนขึ้น เมื่อทันตแพทย์ทำการถอนฟันเสร็จสิ้นแล้ว ทันตแพทย์อาจจะทำการปิดแผลด้วยการเย็บแผล

ข้อปฏิบัติหลังการถอนฟันและผ่าตัดฟันคุด

  • กัดผ้ากอซให้แน่นพอสมควร 2 ชั่วโมง แล้วคายผ้ากอซทิ้ง หากมีเลือดไหลออกมา ให้วางผ้ากอซใหม่บนแผล แล้วกัดต่ออีก 1 ชั่วโมง
  • ขณะกัดผ้ากอซให้กลืนน้ำลายและเลือด ห้ามดูดแผล ห้ามบ้วนน้ำลายเพราะอาจทำให้เลือดออกและหยุดช้า
  • ยาชาอาจชาได้ 3-4 ชม.(กรณีทำฟันล่าง)
  • เพื่อลดอาการบวมหลังการถอนและการผ่าตัด ประคบเย็นข้างแก้ม 2 วันแรก วันที่ 3 ประคบอุ่น
  • แปรงฟันบริเวณแผลด้วยแปรงขนนุ่ม
  • ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามสูบบุหรี่หรือทานอาหารเผ็ดจัด ร้อนจัด
  • ต้องทานยาปฏิชีวนะตามทันตแพทย์จ่ายให้ครบ ส่วนยาแก้ปวดทานเมื่อมีอาการปวด
  • ห้ามออกกำลังกายหนักเกินควร